การเลือกใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกวิธี

การเลือกใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกวิธี

ปัจจุบันในหลายครัวเรือนมีการใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงกันแพร่หลาย ซึ่งปลั๊กไฟสายพ่วงมีหลากหลายประเภท หลายยี่ห้อ ผู้ใช้งานหลายรายใช้งานที่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง จุดประสงค์หลักของปลั๊กไฟสายพ่วงถูกออกแบบมาให้ใช้สำหรับงานชั่วคราวเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบมาใช้งานงานแบบถาวร ดังนั้นห้ามนำไปติดตั้งหรือใช้งานแบบเสียบตลอดเวลาเพราะสายไฟอาจเกิดการชำรุด ซึ่งเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ บทความนี้จะกล่าวถึงปลั๊กไฟสายพ่วง ในเรื่องต่างๆต่อไปนี้

1.คุณลักษณะที่ดีของปลั๊กไฟสายพ่วง
2.หลักการเลือกซื้อปลั๊กไฟสายพ่วง
3.หลักการใช้งานปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกวิธี

คุณลักษณะที่ดีของปลั๊กไฟสายพ่วง


1. สายไฟของชุดสายพ่วงต้องมีฉนวนหุ้มสายไฟด้านในอีกชั้นหนึ่งรวม 2 ชั้น เพื่อป้องกันความปลอดภัยจากการที่สายอาจจะชำรุดหรือขาดได้ง่าย

2. เต้ารับต้องทำด้วยทองเหลือง

3. มีอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟเกิน อาทิ ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์

 

4. ควรเป็นสายอ่อนที่มีสายทองแดงย่อยๆ มีขนาดสายรวมไม่ต่ำกว่า 0.824 ตารางมิลลิเมตร (sqmm) หรือสายเบอร์ 18 AWG (แนะนำให้ใช้สายที่มีค่าสูงกว่า 1.0 sqmm)

หลักการเลือกซื้อปลั๊กไฟสายพ่วง


1. เลือกซื้อปลั๊กไฟสายพ่วงที่ในส่วนของสายไฟอ่อนต้องได้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)ประเภทสายไฟทองแดงหุ้มด้วยโพลิไวนิลคลอไรด์ มอก. 11-2531 (ศึกษาเรื่อง มอก. 11-2531)

2. พิจารณาคุณลักษณะ คุณภาพของวัสดุที่นำมาทำชุดปลั๊กไฟสายพ่วง ทั้งในส่วนของเต้าเสียบ เต้ารับ อุปกรณ์ป้องกันและรางปลั๊กไฟ ต้องดูแน่นหนา สภาพแข็งแรง ไม่หลวมหลุดง่าย เต้ารับต้องทำด้วยทองเหลือง ตัวปลั๊กเสียบต้องเป็นโลหะที่ทนต่อการกัดกร่อน แข็งแรง บริเวณขั้วปลั๊กกับส่วนของสายไฟต้องมีข้อยืดหยุ่นรองรับการงอได้ดี

3. ปลั๊กไฟสายพ่วงที่ดีต้องมีสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อป้องกันไฟกระชากจากการถอดปลั๊กจากเต้าเสียบ


4. ปลั๊กไฟสายพ่วงที่ดีต้องมีฟิวส์ หรือ BREAKER ช่วยตัดกระแสไฟฟ้าหากใช้ไฟฟ้าเกินขนาดที่กำหนด


5. สายไฟของชุดสายพ่วงต้องมีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น เพื่อความปลอดภัยจากการหักงอหรือถูกของมีคมทำให้สายไฟชำรุด

6. ระบุค่าแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดใช้งานได้ระหว่าง 220- 250 โวลต์ ที่เหมาะกับไฟฟ้าในประเทศไทย

7. วัสดุทำรางเต้ารับผลิตจากพลาสติกเอวีซี (AVC) ซึ่งเนื้อพลาสติกจะทนต่อความร้อนได้ดีกว่าพลาสติกพีวีซี (PVC) ลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้กรณีเกิดความร้อนสูง

หลักการใช้งานปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกวิธี

1. ไม่ควรใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงต่อร่วมกันหลายๆเส้น เพื่อเพิ่มความยาว เพราะจุดรอยต่อจะเกิดความต้านทานเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่เกิดความร้อน นำไปสู่การลัดวงจร


2. เมื่อเลิกใช้ควรดึงปลั๊กสายไฟต่อพ่วงออกจากเต้าเสียบหลักที่ผนัง ไม่ควรเสียบคาทิ้งไว้


3. ไม่ควรใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงแบบใช้งานทั่วๆไป กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินกระแสไฟฟ้ามากไฟมาก หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าตลอดเวลา อาทิ เครื่องปั๊มน้ำ หลอดไฟฟ้าส่องสว่างขนาดใหญ่


4.ไม่ใช้ปลั๊กสายไฟต่อพ่วงใช้งานกับอุปกรณ์ที่มีสภาพการกระชากไฟเป็นช่วงๆ อาทิ ตู้เย็น เครื่องทำน้ำเย็น เป็นต้น


5. ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้ากับ ปลั๊กไฟสายพ่วง เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ


6. เมื่อใช้งาน เต้าเสียบและเต้ารับต้องเสียบแนบแน่นพอสมควรและไม่หลวมง่าย เพราะหากปลั๊กไฟหลวม จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการอาร์ค ความร้อนที่หน้าสำผัสจะสูงมากขึ้น จนเกิดประกายไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน


7.ไม่ใช้ปลั๊กไฟต่อพ่วงนำไปใช้ในแบบถาวรเนื่องจากฉนวนหุ้มของสายไฟอ่อนบางประเภท จะเสื่อมคุณภาพเร็ว อาจจะกรอบและหลุดร่อนได้ง่าย และเป็นส่วนให้สายไฟเกิดสนิมอ๊อกไซด์

8. หลีกเลี่ยงการใช้งานปลั๊กสายไฟต่อพ่วงมีสภาพชำรุดโดยเฉพาะตัวสาย หากจำเป็นต้องใช้งานให้ตรวจสอบส่วนที่ชำรุดว่ายังมีความพร้อมในการใช้งานหรือไม่ อาทิ สายมีรอยบาดขาดจนเห็นเส้นทองแดง ให้ทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน แต่หากสายไฟมาสภาพกรอบ แตก ไม่ควรนำมาใช้

9. หลีกเลี่ยงการใช้ปลั๊กสายไฟต่อพ่วงประเภทฉนวนหุ้มชั้นเดียว โดยเฉพาะรูปลักษณะที่เป็นแบบม้วนเก็บวงกลม เพราะปลั๊กไฟต่อพ่วงประเภทนี้ ค่อนข้างอันตรายอันเป็นผลมาจากส่วนใหญ่สายขนาดเล็ก (ประมาณ 0.5 sqmm) เวลาม้วนสายจะตีเกลียว

Credit : http://mediath3.blogspot.com

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้